ไฮเปอร์ลูบ (Hyperloop) คือรูปแบบการขนส่งที่รองรับทั้งผู้โดยสารและสินค้าที่ได้รับการรออกแบบมาสำหรับการขนส่งแบบสุญญากาศโดยทีมงานร่วมจาก Tesla และ SpaceX ไฮเปอร์ลูบใช้ระบบของท่อที่มีความกดอากาศต่ำซึ่งเคลื่อนที่ได้โดยปราศจากแรงต้านอากาศหรือแรงเสียดทาน โดยไฮเปอร์ลูบสามารถลำเลียงผู้คนหรือสินค้าด้วยความเร็วเท่ากับเครื่องบินของสายการบินหรือความเร็วเหนือเสียงในขณะที่ประหยัดพลังงานเมื่อเทียบกับระบบรถไฟความเร็วสูงที่มีอยู่ การนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้จะช่วยลดเวลาในการเดินทางเมื่อเทียบกับการเดินทางโดยรถไฟและเครื่องบินในระยะทางไม่เกิน 1,500 กิโลเมตร
อีลอน มาสค (Elon Musk) ผู้ก่อตั้ง Tesla และ SpaceX เป็นบุคคลแรกที่นำแนวคิดของไฮเปอร์ลูบมานำเสนอต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกในปี 2012 โดยใช้วิธีนำท่อลดแรงดันที่มีแคปซูลอัดแรงดันขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์เหนี่ยวนำเชิงเส้นและแกนคอมเพรสเซอร์ไปในท่อนี้ แนวคิดนี้ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 2013 โดยเสนอโครงการสร้างเส้นทางที่วิ่งจากลอสแองเจลิสไปยังบริเวณอ่าวซานฟรานซิสโกโดยผ่านพรมแดนระหว่างรัฐ 5 รัฐ โครงการ Hyperloop Genesis คือระบบไฮเปอร์ลูปที่จะขับเคลื่อนผู้โดยสารไปตามเส้นทาง 560 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 1,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในทางทฤษฎี ใช้เวลาเดินทางเพียง 35 นาทีซึ่งเร็วกว่าเวลาที่ใช้เดินทางทางรถไฟหรือทางอากาศในปัจจุบันมาก

การประมาณการค่าใช้จ่ายเบื้องต้นสำหรับการสร้างไฮเปอร์ลูบในเส้นทางนี้ใช้เงินลงทุน 6 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับการขนส่งผู้โดยสารเท่านั้นและ 7.5 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับไฮเปอร์ลูบแบบที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางค่อนข้างใหญ่กว่าสำหรับการขนส่งผู้โดยสารและยานพาหนะ อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ด้านการขนส่งแสดงความสงสัยว่าระบบนี้สามารถสร้างได้จากงบประมาณดังกล่าวรวมถึงการคาดการณ์บางอย่างที่ว่าไฮเปอร์ลูบอาจจะต้องใช้งบประมาณมากกว่านี้หลายพันล้านดอลลาร์เมื่อคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างการพัฒนาและการดำเนินการจริง
การพัฒนารถไฟความเร็วสูงในอดีตมีความยากลำบากในการจัดการกับแรงเสียดทานและแรงต้านอากาศซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีความสำคัญมากเมื่อยานพาหนะเข้าใกล้ความเร็วสูง แนวคิดไฮเปอร์ลูบจะขจัดอุปสรรคเหล่านี้ในทางทฤษฎีโดยใช้การลอยตัวแบบแม่เหล็กในท่อไร้อากาศทำให้สามารถทำความเร็วได้สูงมากโดยรักษาสภาพสุญญากาศในระยะทางไกลได้
ปัจจุบันบริษัทเวอร์จินไฮเปอร์ลูบคือบริษัทหนึ่งในหลายบริษัทที่นำแนวความคิดของ อีลอน มาสค มาพัฒนาระบบไฮเปอร์ลูบต่อเพื่อต่อยอดในการนำมาให้บริการจริง โดยสามารถทดสอบขนส่งคนบนแคปซูลได้ที่ความเร็ว 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้แล้ว คาดการว่าการนำไฮเปอร์ลูบมาให้บริการจริงจะสามารถทำได้ภายในปี 2021 นี้

ไฮเปอร์ลูบจึงถือว่าเป็นเทคโนโลยีของระบบการขนส่งในอนาคตที่จะมาแข่งขันกับรถไฟความเร็วสูง แต่อย่างไรก็ตามในการสร้างไฮเปอร์ลูบเพื่อนำมาให้บริการนั้นจะต้องพิจารณาถึงต้นทุนในการสร้างและความคุ้มทุนในทางธุรกิจก่อน เพราะเป็นไปได้ว่าอัตราค่าโดยสารของไฮเปอร์ลูบจะต้องสูงกว่ารถไฟความเร็วสูงเป็นอย่างมาก ไฮเปอร์ลูบอาจนำมาให้บริการในประเทศที่เจริญแล้วและประชาชนมีรายได้สูงมากกว่าประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ของโลก
เครดิตภาพ Railway Technology, GrandPrix, Tuemaster
#ไฮเปอร์ลูป #ระบบการขนส่งในอนาคต #นวัตกรรมแห่งอนาคต