ในชีวิตประจำวัน คุณอาจจะเคยได้ยินคำพูดว่า “พรุ่งนี้” ซึ่งหมายถึง วันถัดไปจากวันนี้ และคำว่า “มะรืน” ซึ่งหมายถึง วันที่ถัดจากวันข้างหน้าไป แต่น่าแปลกที่ไม่ค่อยมีใครพูดคำว่า “มะเรื่อง” ซึ่งหมายถึง วันที่ถัดจากวันต่อ ๆ ไปอีก หากคุณอยากรู้ว่าเหตุใดจึงไม่ค่อยมีใครใช้คำว่า “มะเรื่อง” กัน วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัย
“มะเรื่อง” เป็นคำที่ดูโบราณเมื่อฟัง

คำว่า “มะเรื่อง” เป็นศัพท์ไทยที่นิยมใช้ในสมัยโบราณซึ่งเวลานี้หากไม่ใช่คนตามแถบชนบทในอำเภอเล็ก ๆ หรือคนที่มีอายุแปดสิบปีขึ้นไปก็มักจะไม่ใช้กัน แค่ “มะรืน” ก็ทำให้บางคนเริ่มสับสนกันบ้างแล้ว และมะเรื่องก็ไม่เหมาะสำหรับนำมาใช้ในการสื่อสารยุคใหม่ที่คนไม่ชอบการคิดหาความหมายโดยนัยกันมากด้วย ยิ่งคำทับศัพท์จากชาติตะวันตกเข้ามาในประเทศไทยก็ยิ่งทำให้คำเก่า ๆ เลิกใช้สื่อสารไปมากมาย มะเรื่องจึงกลายเป็นคำที่ไม่มีตัวตนไปจากระบบการสื่อสาร
“มะเรื่อง” อาจสื่อความหมายให้เข้าใจผิดได้

ด้วยในยุคปัจจุบัน คำว่า “มะเรื่อง” ไม่ค่อยมีใครใช้กัน จะเห็นคนใช้ก็น้อยมาก คนรุ่นใหม่จึงไม่รู้จักคำนี้กันและหากคุณพูดคำว่า “มะเรื่อง” กับคนอื่นก็อาจทำให้พวกเขาสับสนหรือคิดว่าคุณกำลังชวนเขาคุยเรื่องผลไม้กันก็เป็นได้ เพราะมีคำว่า “มะ” เหมือนกัน ทำให้การสื่อสารเป็นไปด้วยความผิดพลาด จึงไม่มีใครใช้คำว่า “มะเรื่อง” กันหากไม่ใช่ผู้ที่เติบโตมาในสภาพแวดล้อมเดียวกัน
มีคำที่ใช้ง่ายกว่า “มะเรื่อง”

เวลานี้มีคำอื่นที่ใช้ง่ายและตรงตัวกว่าคำว่า “มะเรื่อง” นั่นก็คือการบอกไปเลยว่า “อีกสองวันข้างหน้า” แม้จะเป็นคำที่ยาวกว่าแต่ก็ได้ใจความและตรงตัวมากพอจะสื่อสารกันได้เร็ว เข้าใจละเอียดในบริบทของสังคมที่ผู้คนชอบให้ใช้คำพูดตรง ๆ มากกว่าจะพูดแบบศิลปะหรือมีนามนัยให้สละสลวย ผู้คนจึงนิยมใช้คำว่าอีกสองวันข้างหน้าเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างประโยค เช่น อีกสองวันข้างหน้าฉันจะไปอเมริกาแล้วนะ ซึ่งหากมองดี ๆ ก็เหมาะสมกว่าใช้คำว่า “มะเรื่องนี้ฉันจะไปอเมริกาแล้วนะ” ซึ่งอย่างหลังก็ดูแปลกหน่อย ๆ เป็นต้น
ทั้งนี้ ถึงอย่างไรคำว่า “มะเรื่อง” ก็ยังคงเป็นคำที่ผู้ใหญ่หลายคนให้การอนุรักษ์ไว้ หากนำมาใช้ในการสื่อสารตามบริบทสังคมไทยปัจจุบันอาจจะไม่เหมาะเท่าที่ควร แต่หากใช้ในการเขียนเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ก็จัดได้ว่าเป็นอีกคำหนึ่งที่บ่งบอกความเป็นไทยเดิมได้ดีมากเชียวล่ะ
รูปภาพประกอบ : Pixabay
#ความหมายมะเรื่อง #คำโบราณ #คำไทยที่ไม่ถูกใช้